คนพิการ กับการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก

คนพิการ

คนพิการ เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ควรเข้าถึงระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพต่างๆ ได้อย่างทัดเทียมกับประชากรไทยกลุ่มอื่นๆ เพื่อนำไปสู่การมีสุขภาวะที่ดี ดำรงชีวิตด้วยตนเองได้อย่างมีอิสระ มีศักดิ์ศรี และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมไทย ในส่วนที่เกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก

คนพิการ มักเป็นโรคในช่องปากมากกว่าและรุนแรงกว่าคนทั่วไป เนื่องจากคนพิการมีปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดหลายประการในการดูแลสุขภาพของตนเอง รวมถึงโอกาสในการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพช่องปากมีน้อย และการให้บริการรักษาทางทันตกรรมมีความยากลำบากกว่าปกติ

ดังนั้นการช่วยเหลือแนะนำให้ผู้พิการสามารถดูแลรักษาอนามัยช่องปากตนเองได้ จึงเป็นเรื่องพื้นฐานที่สำคัญที่สุดในการสร้างเสริมสุขภาพผู้พิการ ซึ่งทีมสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งทันตบุคลากร พยาบาล และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ควรมีความสามารถในการทำหน้าที่นี้ได้

สารบัญ

ประเภทของ คนพิการ และวิธีการสื่อสาร

ประเภท คนพิการ

1. คนพิการทางสายตา

เราสามารถสื่อสารด้วยการพูด นอกจากนั้นคนพิการกลุ่มนี้ ยังสามารถรับรู้จากประสาทสัมผัสอื่น เช่น การใช้มือสัมผัส การดม หรือการรับรสทางลิ้น

2. คนพิการทางการได้ยินหรือการสื่อความหมาย

ผู้พิการกลุ่มนี้แต่ละคนมีระดับความบกพร่องทางการได้ยิน และวิธีการสื่อสารต่างกัน บางคนสื่อสารโดยการสะกดคำด้วยนิ้วมือ ต้องใช้นิ้วมือทำเป็นสัญลักษณ์แทนพยัญชนะแต่ละตัวซึ่งค่อนข้างยาก หรือใช้การขยับมือเป็นท่าทางภาษามือเพื่อสื่อสาร เช่น ถ้าบอกว่า “ไม่ปวดฟัน” ก็ยกมือขึ้น ส่ายมือไปมาหมายถึงไม่การใช้นิ้วสีกันหมายถึงปวดฟัน

ดังนั้นเพื่อความสะดวกในการสื่อสาร อาจต้องถามภาษามือจากผู้ดูแล หรือให้ผู้ดูแลช่วยสื่อสาร

ผู้พิการทางการได้ยินบางคนสามารถอ่านริมฝีปากได้ จึงสื่อสารได้ง่ายขึ้น ผู้พูดต้องหันหน้าเข้าหาและสบตาคนพิการโดยมีระยะห่างประมาณ 2-3 ฟุต ให้ผู้พิการมองเห็นปากได้ชัดเจน พูดแบบปกติภายใต้แสงสว่างพอเพียง คนพิการก็จะอ่านริมฝีปากได้ง่าย

ไม่ต้องตะโกนและไม่ต้องเน้นคำมากเกินไป เพราะการเน้นคำทำให้ริมฝีปากเราเปลี่ยนรูปไปจากการออกเสียงตามปกติ ถ้าเป็นเด็กเล็กต้องให้ผู้ดูแลช่วยสื่อสาร และใช้ภาษากายช่วยสื่อสารเพิ่มเติม เช่น การยิ้มแสดงความเป็นมิตร และการโอบกอดเด็ก เป็นต้น

ถ้าเป็นคนพิการที่สามารถอ่านออกเขียนได้ ก็ต้องเตรียมกระดาษดินสอสำหรับใช้ในการสื่อสารกับคนพิการให้พร้อม

3. คนพิการทางร่างกายหรือการเคลื่อนไหว

คือกลุ่มคนพิการที่มีความผิดปกติหรือ ความบกพร่องของร่างกายที่เห็นได้อย่างชัดเจน เช่น คนที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวหรือมีปัญหาการเคลื่อนไหวของ มือ แขน ขา หรือลำตัว อันเนื่องมาจากแขนขาด ขาขาด อัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออ่อนแรง โรคข้อ หรืออาการปวดเรื้อรัง รวมถึงการเป็นโรคเรื้อรังบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถประกอบกิจวัตรหลักในชีวิตประจำวัน เยี่ยงคนปกติได้

คนพิการกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาในการสื่อสาร เพราะได้ยินเสียง และมองเห็นได้ด้วยตาเหมือนคนปกติ คนพิการทางร่างกายบางกลุ่มสามารถปรับตัวเอง หรือปรับเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน

ทำให้สามารถช่วยเหลือตนเองตามสมรรถนะที่มีอยู่ เช่น อาจใช้ข้อศอกหรือนิ้วที่เหลือในการหนีบปากกาเขียนหนังสือ จับแปรงสีฟันแปรงฟันได้ หรือบางคนสามารถปรับตัวใช้นิ้วเท้าหนีบแปรงสีฟันเวลาแปรงฟัน โดยไม่ต้องอาศัยผู้ดูแลช่วยเหลือเลยก็ได้

4. คนพิการทางด้านสติปัญญาหรือการเรียนรู้

คือมีความบกพร่องทางสติปัญญา หรือสมองจนไม่สามารถเรียนรู้ด้วยวิธีการศึกษาแบบปกติได้ เช่น ผู้มีภาวะปัญญาอ่อน ซึ่งจะมีปัญหาทางการเรียนรู้ พฤติกรรม รวมถึงการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในสังคม

การสื่อสารกับคนกลุ่มนี้ต้องประเมินระดับความรุนแรงของภาวะปัญญาอ่อนโดยซักประวัติจากผู้ดูแล เกี่ยวกับความสามารถในการเรียนรู้
การสื่อสาร และการช่วยเหลือตนเองของคนพิการ ปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะสมกับคนพิการแต่ละราย

ควรสร้างความคุ้นเคย พูดช้าๆ ซ้ำๆ ใช้คำง่ายๆ ถ้าคนพิการสามารถทำตามคำแนะนำได้ ควรชมเชยให้กำลังใจ และต้องตั้งใจฟังสิ่งที่คนพิการต้องการสื่อสารกับเรา เพราะเขาต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการพูดออกมา

ถ้าเป็นคนพิการกลุ่มอาการ down syndrome ส่วนใหญ่มีระดับสติปัญญาไม่ต่ำเกินไป ไม่ค่อยก้าวร้าว อารมณ์ดี ยิ้มง่าย สามารถให้ความร่วมมือในระยะเวลาสั้นๆ ได้ ซึ่งเราสามารถใช้จิตวิทยาในการจัดการพฤติกรรมได้โดยไม่ยากจนเกินไป

5. คนพิการทางด้านจิตใจหรือพฤติกรรม

คือคนที่มีความผิดปกติหรือความบกพร่องทางจิตใจ หรือสมองในส่วนของการรับรู้ อารมณ์ ความคิด จนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมที่จำเป็นในการดูแลตนเองหรืออยู่ร่วมกับผู้อื่น ซึ่งเราต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยเป็นรายๆ ไปอย่างอดทน และให้ความเห็นอกเห็นใจผู้ป่วย

6. กลุ่มบุคคลออทิสติก (autistic)

กลุ่มนี้ไม่ได้มีความผิดปกติด้านพฤติกรรมเพียงอย่างเดียว ยังพบความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคม การใช้ภาษา และการสื่อความหมาย กลุ่มที่มีความผิดปกติทางการสื่อความหมาย เช่น พูดได้ช้า ไม่พูดเมื่อถึงวัยที่ควรจะพูด โต้ตอบยาวๆไม่ได้ พูดซ้ำๆหรือพูดแบบนกแก้ว และเล่นสมมุติไม่ได้

กลุ่มที่มีความผิดปกติด้านพฤติกรรมและความสนใจ เช่นมีพฤติกรรมซ้ำๆ ทำอยู่สิ่งเดียว ทำตามขั้นตอนเป็นแบบแผน ต้องการคงสภาพเดิมไม่ยอมให้เปลี่ยนกิจวัตร หรืออาจมีพฤติกรรมต่อต้านการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มเด็กออทิสติก จะหมกมุ่นในวัตถุ สนใจบางส่วนของของเล่น เช่นล้อรถ บางทีชอบเคลื่อนไหวแปลกๆ เช่น หมุนตัว โยกตัว เขย่งปลายเท้า เคลื่อนไหวซ้ำๆ

อาจเป็นการเล่นกับตัวเองโดยที่ไม่สนใจคนอื่น เห็นคนอื่นเหมือนเห็นสิ่งของ บางคนอาจมีความผิดปกติในการรับประทาน เช่น เด็กบางคนอาจจะกินของดิบ กินดิน หรือว่าดึงผมมากิน แต่ว่าพฤติกรรมเหล่านี้ก็ไม่ได้เกิดขึ้นในเด็กออทิสติกทุกราย

การฝึกทักษะการแปรงฟันให้ คนพิการ

แปรงสีฟันไฟฟ้า

การช่วยเหลือ แนะนำ สอนวิธีแปรงฟันให้ผู้พิการ ควรรู้ประวัติทั่วไปและประวัติทางการแพทย์ เช่น มีโรคประจำตัวหรือไม่ พฤติกรรมเป็นอย่างไร มีประวัติทำร้ายตัวเองหรือทำร้ายคนอื่นหรือไม่ มีอารมณ์แปรปรวนหรือไม่

รวมถึงเทคนิคที่ผู้ปกครองใช้ในการจัดการพฤติกรรม เพราะจะทำให้มีข้อมูลมาประเมินความร่วมมือ และความสามารถของผู้พิการ เพื่อนำมาปรับใช้ในการฝึก

อย่างไรก็ตามการสอนและฝึกผู้พิการให้แปรงฟันได้จะต้องใช้ความอดทน และมีความพยายามมากกว่าปกติ ผู้ฝึกสอนควรใจเย็น และฝึกสอนให้ด้วยความรัก ความเมตตา ควรแนะนำให้คนพิการและ ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพช่องปากร่วมกัน และต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากให้เหมาะสมกับสภาวะของคนพิการแต่ละราย

การฝึกทักษะการแปรงฟัน หรือฝึกวิธีการทำความสะอาดช่องปากที่ถูกต้องและเหมาะสมกับสภาวะของคนพิการ ควรปรับวิธีการ จัดตำแหน่ง และท่าทางในการแปรงฟันตามสภาพ

อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดเพิ่มเติม เช่น แปรงสีฟันไฟฟ้า, แปรงซอกฟัน, ไหมขัดฟัน เป็นต้น

นอกจากนั้นควรดัดแปลงลักษณะของแปรงสีฟันให้เหมาะสมกับความผิดปกติของคนพิการแต่ละคน โดยเฉพาะคนที่บกพร่องด้านทักษะการใช้มือ เพื่อให้คนพิการสามารถแปรงฟันได้ด้วยตนเองตามสมรรถนะที่มีอยู่ เช่น ถ้าคนพิการนิ้วมือไม่มีกำลัง

คนพิการ นิ้วมือไม่มีกำลัง

คนพิการ

การใช้แปรงสีฟันด้ามเล็กที่ไม่พอดีกับการกำและการจับของนิ้วมือจะทำให้แปรงสีฟันหลุดจากมือได้ง่าย ดังนั้นจึงควรปรับเพิ่มขนาดด้ามแปรงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อช่วยให้คนพิการที่มือแข็งเกร็งหรือนิ้วมือไม่มีกำลังสามารถจับยึดแปรงได้ถนัดขึ้น จะทำให้สามารถควบคุมบังคับมือให้เคลื่อนแปรงสีฟันได้ดีกว่า

การปรับแต่งด้ามแปรงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ใช้วัสดุพิมพ์ปากซิลิโคนชนิด putty ที่หมดอายุ เอามาปั้นแล้วจับเป็นรอยนิ้วมือ หุ้มด้ามให้ใหญ่ขึ้น

หรืออาจจะประยุกต์โดยหุ้มด้ามแปรงด้วยวัสดุเหลือใช้ เช่น ฟองน้ำ ลูกปิงปอง ท่อน้ำประปาแบบพลาสติก กระบอกไม้ไผ่ หลอดยาที่ใช้แล้ว หลอดด้าย ด้ามมือรถจักรยานยนต์ เป็นต้น

ที่สำคัญควรเลือกให้ขนาดพอดีกับการงอของนิ้วมือ เพื่อให้นิ้วมือสัมผัสกับด้ามแปรงได้ทุกนิ้ว ถ้าใหญ่เกินไปคนพิการก็จะจับไม่ถนัดเหมือนกัน

อาจจะประยุกต์โดยการใช้ก้านร่มที่เสียแล้วมาพันเทปกาว หรือดัดด้ามแปรงสีฟันให้โค้งงอ เพื่อให้คนพิการยึดจับแปรงสีฟันได้ถนัดมือมากขึ้น หรือจะใช้สายรัดอุ้งมือเป็นตัวรัดด้ามแปรงเข้ากับมือ

เพื่อช่วยให้คนพิการจับแปรงสีฟันได้แน่นขึ้น แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ เราก็อาจจะใช้หนังยาง หรือแผ่นยางขนาดใหญ่ช่วยรัดยึดด้ามแปรงให้ติดแน่นกับมือแทน

นอกจากนั้นอาจเลือกใช้แปรงสีฟันไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยให้คนพิการแปรงฟันได้สะดวกมากขึ้น แต่มีราคาค่อนข้างสูง เเปรงสีฟัน ธรรมดา กับ แปรงสีฟันไฟฟ้า แบบไหนดีกว่ากัน ?

กรณี คนพิการ ที่การงอพับข้อศอกหรือไหล่ผิดปกติ

คนพิการ

คนพิการกลุ่มนี้แขนจะงอพับเข้ามาทำให้แปรงฟันได้ลำบาก ดังนั้นจึงควรเพิ่มความยาวของด้ามแปรง โดยใช้ไม้ไผ่ ตะเกียบ หรือด้ามพลาสติกพันกับด้ามแปรงสีฟันให้แปรงสีฟันมีด้ามยาวขึ้น

การทำให้แปรงสีฟันมีด้ามยาวมากขึ้นเหมือนการเพิ่มวงแขนให้กว้างขึ้น ทำให้คนพิการสามารถนำแปรงสีฟันเข้าปาก และแปรงฟันให้ตัวเองได้

คนพิการ ที่ใช้เท้าแปรงฟัน

แปรงสีฟันโค้งงอ

ขนาดของด้ามแปรงก็ยังคงมีความสำคัญอยู่ โดยต้องมีขนาดพอเหมาะที่นิ้วหัวแม่เท้าและนิ้วถัดไปจะหนีบจับได้ และด้ามแปรงควรจะโค้งงอเล็กน้อย เพื่อช่วยให้ทำความสะอาดฟันซี่ในสุดได้สะอาดขึ้น

บทความที่เกี่ยวข้อง

สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา

Phone : +662-102-5920
Fax : +662-102-5920
E-Mail : doctorvofficial@gmail.com
แผนที่(คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
LINE:@DOCTORV

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/DoctorvOfficial

ติดตามช่อง Youtube
https://www.youtube.com/channel/UCT1GCI52CLf6BDfe77vtBtQ


สามารถสั่งซื้อได้ที่  >>  Line: @doctorv
http://line.me/ti/p/%40doctorv

Scan QR CODE

ยาสีฟัน สมุนไพร  Doctor V ได้ใส่สารสกัดจากสมุนไพรถึง 12 ชนิด เช่น เห็ดหลินจือ, โสม, Propolis เป็นต้น เป็นสารสกัดที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ แต่ก็นำมาด้วยต้นทุนที่สูง แต่ด้วยความที่มีไอเดียในการทำสินค้า

และธุรกิจของครอบครัวเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องสำอาง เลยมีทีม R&D ที่สามารถหาวัตถุดิบที่ต้องการมาได้หมด ทำให้ได้ ยาสีฟัน ตามสูตรที่คิดค้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุนแต่อย่างใด


Ldc กรุงเทพฯ ปริมณฑล / Ldc ต่างจังหวัด / ร้าน HEALTHY MAX 7 สาขา / ร้านออร์แกนิคปลอดสารพิษ / DENTAL CLINIC / สบายใจ / FOODLAND กทม. / FOODLAND ตจว. / VILLA MARKET กทม.ปริมณฑล / VILLA MARKET ตจว. / TOP MARKET / ร้านภูมิใจไทยมี 20 สาขา / Beauty Buffet / Market Place Online (Shopee / Lazada / JD Central / Fanpage : DoctorvOfficial)


Doctor V™ ยาสีฟัน ฟันขาว สมุนไพร สูตรพิเศษ ทำให้ ฟันขาวขึ้น อีกทั้งยังช่วย ลดดกลิ่นปาก, บำรุงเหงือก, ปกป้อง เหงือกบวม อักเสบ, ลด เสียว ฟัน โดยทีมงานแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ตระหนักถึงคุณค่าของ สมุนไพรไทย และธรรมชาติ

เพื่อให้มั่นใจถึงความบริสุทธิ์ และคุณภาพ Doctor V™เลือกใช้เฉพาะส่วนผสมจากธรรมชาติบริสุทธิ์ 100 % จากพืชเพื่อให้ทุกเพศทุกวัยสามารถได้รับประโยชน์ ของผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมจากธรรมชาตินี้