สุขภาพช่องปาก ส่วนใหญ่มีสำหรับใช้ทำความสะอาดช่องปาก กำจัดและลดการสะสมคราบจุลินทรีย์ที่เหงือกและฟัน บางอย่างใช้เพื่อบำบัดอาการ หรือเพื่อความสวยงาม ผลิตภัณฑ์ดูแล สุขภาพช่องปาก แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์ ได้แก่ แปรงสีฟัน, ไหมขัดฟัน, แปรงซอกฟัน, ไม้จิ้มฟัน อุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้น
2. กลุ่มเครื่องสำอางหรือยา ได้แก่ ยาสีฟัน, สารฟอกสีฟัน, สารระงับอาการเสียวฟัน และน้ำยาบ้วนปาก
สารบัญ
- แปรงสีฟัน (toothbrush)
- ยาสีฟัน (toothpaste)
- อุปกรณ์ทำความสะอาด ซอกฟัน
- อุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้น
- เครื่องฉีดน้ำในปาก
- ทำความสะอาดฟันปลอมหรือฟันเทียม
- น้ำยาบ้วนปาก
1. แปรงสีฟัน (toothbrush)
ในการเลือกใช้แปรงสีฟันจุดที่พิจารณาคือหัวแปรง ด้ามแปรง ขนแปรง และฉลาก ควรเลือกแปรงสีฟันที่ระบุกลุ่มอายุตรงกับผู้ใช้ เพราะจะมีขนาดหัวแปรงเหมาะสมกับช่องปาก แปรงสีฟันที่มีหัวแปรงใหญ่ เวลาแปรงฟันจะกระแทกเหงือกและกระพุ้งแก้มได้ง่าย เมื่อแปรงฟันด้านทางลิ้นจะทำได้ไม่ถนัด และอาจกระตุ้นให้อยากอาเจียน รูปร่างหัวแปรงควรมน ไม่เป็นเหลี่ยมมุมด้ามแปรงมีรูปร่างตรงหรือเอียงเล็กน้อย จับถนัดมือ แข็งแรงไม่เปราะหักง่าย ตรวจสอบข้อมูลขนแปรงบนฉลาก ให้เลือกแปรงสีฟันที่ขนแปรงทำจากไนล่อนชนิดนุ่มถึงนุ่มพิเศษ และมนปลายขนแปรง เพื่อไม่ให้ทำอันตรายต่อเหงือกและฟัน
นอกจากแปรงสีฟันทั่วไปที่กล่าวข้างต้น ยังมีแปรงสีฟันไฟฟ้าซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ไม่สามารถใช้มือได้ดี เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก และผู้ป่วยที่ต้องช่วยแปรงฟันให้ คนทั่วไปที่แปรงฟันถูกวิธี
การแปรงฟันด้วยแปรงสีฟันไฟฟ้ามีประสิทธิผลในการกำจัดคราบจุลินทรีย์ ไม่ต่างจากการใช้แปรงสีฟันทั่วไป มีเพียงแปรงสีฟันไฟฟ้าชนิดหัวแปรงหมุนเป็นวงกลม ไป-กลับ (rotation oscillation) ที่พบว่ามีประสิทธิภาพดีกว่าแปรงสีฟันทั่วไปเล็กน้อย แต่แปรงสีฟันไฟฟ้ามีราคาสูง ทำให้ต้นทุนในการดูแล สุขภาพช่องปาก เพิ่มขึ้น และยังต้องใช้ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด
2. ยาสีฟัน (toothpaste)
มีส่วนผสมประกอบด้วย สารขัดถู สารลดแรงตึงผิว สารทำให้เกิดฟอง สารยึดเกาะทำให้ข้น สารควบคุมความเป็นกรด-ด่าง สารกันเสีย สารปรุงแต่งกลิ่น รส สี สารคงความชุ่มชื้น สารลดอาการเสียวฟัน สารยับยั้งแบคทีเรีย สารทำให้ ฟันขาว สารให้ความเย็น สารกระชับเหงือก สารสกัดสมุนไพร
ลักษณะยาสีฟันที่ดีคือ ถ้าเป็นยาสีฟันผงต้องเป็นผงละเอียด ถ้าเป็นยาสีฟันเหลวหรือเหลวข้นต้องเป็นเนื้อเดียวกันตามลักษณะเฉพาะของยาสีฟันนั้นๆ และต้องปราศจากสิ่งแปลกปลอม
ยาสีพันที่เติมสารเสริม มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะการใช้เฉพาะเจาะจง ซึ่งปัจจุบันมีแพร่หลายมากขึ้น และส่วนใหญ่มีราคาแพงกว่ายาสีฟันทั่วไป ดังนั้นเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงควรใช้ยาสีฟันให้ตรงตามวัตถุประสงค์
3. อุปกรณ์ทำความสะอาด
ซอกฟัน อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันมีหลายแบบ ได้แก่ ไหมขัดฟัน, แปรงซอกฟัน, ไม้จิ้มฟัน และเครื่องฉีดน้ำในปาก การเลือกใช้ให้พิจารณาจากสภาพเหงือกและฟันของแต่ละคน จากนั้นจึงเลือกตามความชอบหรือความถนัด
3.1 ไหมขัดฟัน (dental floss) ประกอบด้วยเส้นใยเล็กๆ หลายเส้นเรียงตัวขนานกันคล้ายเส้นด้าย เวลาใช้งานเส้นใยเล็กๆ จะคลี่แผ่ออกเป็นแถบเพื่อทำความสะอาดผิวฟัน เส้นด้ายนำมาใช้แทนไหมขัดฟันไม่ได้ เพราะเส้นใยของด้ายถูกถักรวมกันไม่สามารถแผ่ออกได้ การเลือกใช้ไหมขัดฟันแนะนำให้ใช้ชนิดเคลือบขี้ผึ้ง (waxed) กับฟันที่สัมผัสกันไม่แน่นมาก
และสำหรับผู้ที่เริ่มใช้ ส่วนชนิดไม่เคลือบขี้ผึ้ง (unwaxed) เหมาะสำหรับฟันที่อยู่ชิดกันแน่นมาก ไหมขัดฟันทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพเหมือนกันหากใช้ถูกวิธี ปัจจุบันมีการผลิตไหมขัดฟันในรูปแบบต่างๆ เช่น ไหมขัดฟันชนิดพิเศษสำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอมชนิดติดแน่น หรือใส่เครื่องมือจัดฟัน
ไหมขัดฟันแบบเส้นแถบซึ่งมีแถบแบนกว้างกว่าไหมขัดฟันปกติ ไหมขัดฟันที่มีด้ามจับ ช่วยให้ใช้ได้ง่ายขึ้นเวลาใช้กับฟันกรามที่อยู่ด้านในแต่พบว่าประสิทธิภาพยังไม่ดีเท่าการใช้นิ้วมือพันไหมขัดฟัน เนื่องจากไม่สามารถโอบรอบซี่ฟันได้ดี และทำให้บาดเหงือกเป็นร่องได้
3.2 แปรงซอกฟัน ใช้ทำความสะอาดบริเวณซอกฟันที่มีฟันห่าง ซอกฟันใหญ่ หรือใช้ทำความสะอาดบริเวณช่องระหว่างรากฟันในกรณีที่เหงือกร่น แปรงซอกฟันมีลักษณะคล้ายแปรงล้างขวดอันเล็กๆ หัวแปรงมีสองแบบ คือ แบบทรงกระบอก (cylinder) และแบบต้นสน (taper) ให้เลือกใช้ตามขนาดความกว้างของซอกฟัน
วิธีใช้ โดยใส่เข้าไปในซอกฟันหรือร่องระหว่างรากฟัน ให้ขนแปรงชิด ผิวฟัน แล้วถูเข้าออก 5-6 ครั้ง ควรใช้ด้ามจับช่วยเพื่อให้ใช้งานได้ถนัดขึ้น โดยเฉพาะการใช้กับฟันกรามที่อยู่ด้านใน
3.3 แปรงกระจุกเดียว (single tufted brush) ใช้ทำความสะอาดฟันบริเวณที่เข้าถึงยาก เช่น ด้านท้ายสุดของฟันล่าง ฟันเก ฟันล้มเอียง หรือผู้ที่ใส่เครื่องมือจัดฟัน วิธีใช้กวาดขนแปรงไปตามคอฟัน เมื่อถึงซอกฟันให้ขยับขนแปรงอยู่กับที่ แล้วปัดออกทางด้านบดเคี้ยว ทำเช่นนี้กับฟันทุกซี่ที่ต้องการแปรง
3.4 ไม้จิ้มฟัน ใช้สำหรับเขี่ยเศษอาหารที่ติดซอกฟัน และทำความสะอาดซอกฟัน มีทั้งชนิดที่ทำด้วยไม้และพลาสติก ไม้จิ้มฟันที่ดีต้องมีผิวเรียบ ไม่เป็นขุยหรือมีรอยฉีก สะอาดไม่มีสิ่งเจือปน หรือผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ควรเลือกใช้ไม้จิ้มฟันที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมปลายเรียวแหลม (triangular shape) เพื่อให้สามารถเข้าตามช่องว่างระหว่างฟันและเหงือกได้
ถ้าทำจากไม้เนื้ออ่อนอมน้ำได้ดี ไม้จิ้มฟันชนิดนี้ทางทันตกรรมเรียกว่าไม้กระตุ้นเหงือก วิธีใช้สอดปลายแหลมของไม้เข้าไประหว่างซอกฟัน ให้ฐานของสามเหลี่ยมอยู่ที่เหงือก ด้านข้างของไม้จิ้มฟันแนบด้านข้างของฟันซี่ใดซี่หนึ่ง หรือ 2 ซี่พร้อมกัน แล้วถูเข้าออก 4- 5 ครั้ง ทำเช่นนี้ทุกซอกฟันที่มีช่องว่างระหว่างฟัน ดังรูป
ข้อควรระวัง
1. ห้ามใช้ไม้จิ้มฟันทุกประเภทในลักษณะดัน แคะ หรืองัดเพื่อกำจัดเศษอาหาร เพราะจะทำอันตรายต่อเหงือก และอาจทำให้วัสดุอุดฟันชำรุดเสียหาย
2. ในผู้ที่เหงือกร่น รากฟันโผล่ การใช้ไม้จิ้มฟันอย่างรุนแรงจะทำให้ผิวรากฟันสึกได้
3. การเสียบไม้จิ้มฟันค้างไว้ตรงซอกฟัน หรือหมุนไม้จิ้มฟันในซอกฟัน จะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างฟันมากขึ้น และทำให้เหงือกร่นได้
4. อุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้น
ผู้ใหญ่โดยเฉพาะผู้สูงอายุควรทำความสะอาดลิ้นเป็นประจำทุกวัน เนื่องจากด้านบนของลิ้นเป็นที่กักเก็บคราบจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก การทำความสะอาดลิ้นอาจใช้แปรงสีฟันแปรงลิ้นเบาๆ หรือใช้อุปกรณ์ที่ผลิตมาเฉพาะทำความสะอาดลิ้น อุปกรณ์ทำความสะอาดลิ้นที่ดีต้องไม่แหลมคม มีด้ามจับถนัดมือ วิธีใช้ครูดหรือแปรงที่ด้านบนของลิ้น โดยกวาด จากโคนลิ้นออกมาทางปลายลิ้นในทิศทางเดียว ไม่ควรถูเข้า-ออก เพราะจะกระตุ้นให้อยากอาเจียน
ข้อควรระวัง คืออย่าใช้แรงมากเกินไปจะทำอันตรายต่อตุ่มรับรสบนลิ้นได้ และยังไม่มี คำแนะนำให้ใช้กับเด็กเล็ก หากจำเป็นต้องทำความสะอาดลิ้นให้เด็กเล็กควรใช้ผ้าสะอาดหรือผ้าก๊อซชุบน้ำสะอาดเช็ดเบาๆ ก็เพียงพอ
5. เครื่องฉีดน้ำในปาก
อุปกรณ์ช่วยทำความสะอาดซอกฟัน โดยใช้แรงดันน้ำช่วยชะล้างเศษอาหารให้หลุด เหมาะสำหรับผู้ที่ใส่ฟันเทียมแบบติดแน่น ผู้ที่ใส่เครื่องมือจัดฟัน ผู้ที่มีรากฟันเทียม ผู้สูงอายุ และใช้ช่วยทำความสะอาดช่องปากให้กับผู้ที่ช่วยตนเองไม่ได้
วิธีใช้ ฉีดน้ำให้ตั้งฉากกับตัวฟัน ให้เส้นน้ำพุ่งเข้าในซอกฟัน โดยปรับแรงดันที่ตัวเครื่องตามต้องการ ในผู้ที่มีเหงือกอักเสบรุนแรงอาจเติมยาฆ่าเชื้อลงไปในน้ำ เพื่อช่วยควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ และลดอาการอักเสบของเหงือก ซึ่งต้องใช้ตามคำแนะนำของทันตแพทย์เท่านั้น
ข้อควรระวัง การตั้งแรงฉีดน้ำที่แรงเกินไปอาจทำอันตรายต่อเหงือกได้ และเครื่องมือนี้ไม่สามารถกำจัดคราบจุลินทรีย์ที่ติดแน่นบนผิวฟันได้ จึงไม่สามารถทดแทนการแปรงฟัน หรือการใช้ไหมขัดฟันได้
6. ทำความสะอาดฟันปลอมหรือฟันเทียม
การทำความสะอาดฟันปลอมตามปกติใช้แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่ม ร่วมกับน้ำสบู่ หรือน้ำยาล้างจาน แปรงฟันปลอมเบาๆ จากนั้นล้างน้ำให้สะอาด ไม่ลวกหรือแช่ในน้ำร้อน เพราะจะทำให้ฟันปลอมที่ทำจากพลาสติกผิดรูป
ในกรณีที่ฟันปลอมติดคราบสี คราบบุหรี่ คราบอาหาร ล้างไม่ออก หรือมีกลิ่นตกค้าง อาจใช้สารทำความสะอาดฟันปลอมโดยเฉพาะซึ่งจะช่วยกำจัดเชื้อโรค คราบติดแน่น และกลิ่น ทำให้ฟันปลอมสะอาด และผู้ใช้รู้สึกสดชื่นขึ้น มีทั้งแบบครีม เจล สารละลาย และแบบเม็ดสำหรับใส่น้ำให้เกิดฟองฟู่
ข้อควระวัง การใช้สารทำความสะอาดฟันปลอมผิดวิธี อาจทำให้ฟันปลอมเสื่อมสภาพได้เร็ว จึงควรใช้ตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด หรือขอคำแนะนำจากทันตแพทย์
7. น้ำยาบ้วนปาก
แบ่งเป็น 2 ประเภทตามจุดประสงค์ของการใช้ คือ
1) ใช้บ้วนปาก เพื่อช่วยให้เศษอาหารหลุดง่ายขึ้น ลดเชื้อจุลินทรีย์ในปาก และช่วยลดกลิ่นปาก ทำให้รู้สึกสดชื่น น้ำยาบ้วนปากที่จำหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่เป็นน้ำยาบ้วนปากประเภทนี้ สามารถซื้อมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามถ้าแปรงฟันให้สะอาดทั่วถึง และใช้อุปกรณ์ทำความสะอาดซอกฟันเป็นประจำ ไม่จำเป็นต้องใช้น้ำยาบ้วนปากอีก
2) ใช้เพื่อป้องกันหรือบำบัดรักษา ได้แก่ น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ น้ำยาบ้วนปากควบคุมคราบจุลินทรีย์ และป้องกันเหงือกอักเสบ ซึ่งมีส่วนผสมของสารที่มีฤทธิ์ทำลายเชื้อจุลินทรีย์ จึงควรใช้ภายใต้คำแนะนำของทันตแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
- 6 วิธี สำหรับ คนจัดฟัน ดูแลฟันยังไง ไม่ให้มีกลิ่นปาก ?
- อาการเหงือกบวม อักเสบ ยาสีฟันสมุนไพร ช่วยได้
- แปรงฟัน ยังรู้สึกไม่สะอาด ควรแปรงฟันให้บ่อยขึ้น / เปลี่ยนยาสีฟันดี?
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา
Phone : +662-102-5920
Fax : +662-102-5920
E-Mail : doctorvofficial@gmail.com
แผนที่(คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
LINE:@DOCTORV
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/DoctorvOfficial
ติดตามช่อง Youtube
https://www.youtube.com/channel/UCT1GCI52CLf6BDfe77vtBtQ
สามารถสั่งซื้อได้ที่ >> Line: @doctorv
http://line.me/ti/p/%40doctorv
Scan QR CODE
ยาสีฟัน สมุนไพร Doctor V ได้ใส่สารสกัดจากสมุนไพรถึง 12 ชนิด เช่น เห็ดหลินจือ, โสม, Propolis เป็นต้น เป็นสารสกัดที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ แต่ก็นำมาด้วยต้นทุนที่สูง แต่ด้วยความที่มีไอเดียในการทำสินค้า และธุรกิจของครอบครัวเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องสำอาง เลยมีทีม R&D ที่สามารถหาวัตถุดิบที่ต้องการมาได้หมด ทำให้ได้ ยาสีฟัน ตามสูตรที่คิดค้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุนแต่อย่างใด Ldc กรุงเทพฯ ปริมณฑล / Ldc ต่างจังหวัด / ร้าน HEALTHY MAX 7 สาขา / ร้านออร์แกนิคปลอดสารพิษ / DENTAL CLINIC / สบายใจ / FOODLAND กทม. / FOODLAND ตจว. / VILLA MARKET กทม.ปริมณฑล / VILLA MARKET ตจว. / TOP MARKET / ร้านภูมิใจไทยมี 20 สาขา / Beauty Buffet / Market Place Online (Shopee / Lazada / JD Central / Fanpage : DoctorvOfficial) Doctor V™ ยาสีฟัน ฟันขาว สมุนไพร สูตรพิเศษ ทำให้ ฟันขาวขึ้น อีกทั้งยังช่วย ลดดกลิ่นปาก, บำรุงเหงือก, ปกป้อง เหงือกบวม อักเสบ, ลด เสียว ฟัน โดยทีมงานแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ตระหนักถึงคุณค่าของ สมุนไพรไทย และธรรมชาติ เพื่อให้มั่นใจถึงความบริสุทธิ์ และคุณภาพ Doctor V™เลือกใช้เฉพาะส่วนผสมจากธรรมชาติบริสุทธิ์ 100 % จากพืชเพื่อให้ทุกเพศทุกวัยสามารถได้รับประโยชน์ ของผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมจากธรรมชาตินี้