โรคในช่องปากที่พบบ่อย อันตรายภัยเงียบ ปากเป็นประตูสู่สุขภาพ ปัญหาสุขภาพช่องปากอาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ที่ร้ายแรง หรือเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่องโดยมีสาเหตุมาจากปัญหาสุขภาพอื่นๆ ได้
ปัญหาสุขภาพช่องปาก ที่สำคัญคือ โรคฟันผุ และโรคปริทันต์อักเสบ ซึ่งพบในประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ และส่งผลกระทบต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในประชากรเกือบทุกช่วงวัย โรคปริทันต์ อักเสบ คืออะไร ? นำไปสู่การสูญเสียฟันจริงไหม
ดังนั้นทีมสร้างเสริมสุขภาพจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับโรคดังกล่าว เพื่อให้รู้วิธีการป้องกัน เข้าใจแนวทางการรักษา สามารถตรวจ ให้คำแนะนำ บำบัดฉุกเฉิน และส่งต่อเพื่อการรักษา ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
สารบัญ
- โรคฟันผุ (Dental Caries)
- สาเหตุ และกลไกการเกิดโรคฟันผุ
- ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคฟันผุ
- การป้องกันโรคฟันผุ
โรคฟันผุ (Dental Caries) โรคในช่องปากที่พบบ่อย
โรคฟันผุ หมายถึง สภาวะที่ฟันมีการสูญเสียเคลือบฟันและเนื้อฟัน ทำให้ผิวฟันเกิดเป็นหลุมหรือโพรง เรียกว่า รูผุของฟัน โรคฟันผุเป็นปัญหาที่พบมากในประชากรตั้งแต่วัยเด็ก และเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญของประชากรกลุ่มวัยนี้
ฟันที่ผุแล้วไม่อาจกลับคืนมาเป็นฟันปกติ แต่สามารถยับยั้งไม่ให้การผุลุกลาม และบูรณะให้ใช้งานได้ สำหรับวัยทำงานและผู้สูงอายุ อัตราฟันผุใหม่จะน้อยลง ฟันที่ผุส่วนใหญ่จะเป็นฟันที่ผุสะสมมาก่อนหน้า และพบการผุบริเวณรากฟันเพิ่มขึ้น
สาเหตุ และกลไกการเกิดโรคฟันผุ
กลไกการเกิดโรคฟันผุทางชีวเคมีเกิดจากแบคทีเรีย ที่รวมกลุ่มกันอยู่บนผิวฟัน (คราบจุลินทรีย์ หรือขี้ฟัน) ย่อยสลายอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ทำให้ เกิดกรด กรดจะไปทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุที่อยู่ในฟัน ทำให้สูญเสียแร่ธาตุออกไปจากฟัน
หากสภาพ ความเป็นกรดเกิดขึ้นต่อเนื่องจะทำให้ฟันสูญเสียแร่ธาตุมากจนเคลือบฟันและเนื้อฟันอ่อนตัวหลุดไป ทำให้เกิดรูผุขึ้น การเกิดกรดและการละลายเกลือแร่ออกจากฟันต้องเกิดภายใต้คราบจุลินทรีย์เสมอ ผิวฟันที่สะอาดไม่มีคราบจุลินทรีย์จะไม่เกิดฟันผุ
กระบวนการเกิดโรคฟันผุ เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีของผิวเคลือบฟันที่เสียสมดุล เมื่อ pH. บริเวณผิวฟันต่ำกว่า 5.5 จะมีการสูญเสียแร่ธาตุออกไปจากผิวฟัน (demineralization)
แต่ในช่องปากมีน้ำลายที่ช่วยเจือจาง และปรับระดับความเป็นกรดด่าง (buffer) ช่วยปรับระดับ pH. ให้เพิ่ม สูงขึ้น เมื่อ pH.บริเวณผิวฟันสูงกว่า 5.5 จะเกิดกระบวนการคืนกลับของแร่ธาตุกลับมาที่ผิวฟัน (remineralization)
ฟันแต่ละซี่จะมีการสูญเสียและการคืนกลับของแร่ธาตุตลอดเวลา หากอยู่ในภาวะสมดุลจะไม่เกิดเป็นรูผุขึ้น แต่ถ้าสภาพความเป็นกรดเกิดขึ้นซ้ำๆ ต่อเนื่อง สมดุลนี้จะเสียไป มีการสูญเสียแร่ธาตุมากกว่าการคืนกลับ ในที่สุดก็จะเกิดรูผุขึ้น
ภาวะเสียสมดุลนี้พบได้บ่อยในคนที่ชอบรับประทานจุบจิบ หรือไม่ทำความสะอาดช่องปากหลังรับประทานอาหาร ทำให้มีแป้งและน้ำตาลตกค้างในช่องปาก จุลินทรีย์จึงมีแป้งและน้ำตาลมาใช้ผลิตกรดได้อย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคฟันผุ โรคในช่องปากที่พบบ่อย
โรคฟันผุ เป็นโรคติดเชื้อที่ไม่ได้เกิดครั้งเดียวเหมือน โรคติดเชื้อทั่วไป แต่เป็นกระบวนการที่เกิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน รูผุจะเกิดขึ้นในคนที่ได้สัมผัสกับปัจจัย ที่เป็นสาเหตุบ่อยๆ หรือเป็นระยะเวลานาน โอกาสที่จะเกิดฟันผุยากหรือง่ายในแต่ละบุคคลอาจพิจารณาได้จากลักษณะขององค์ประกอบ และสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องได้ดังนี้
1. ฟัน
ผิวฟันบริเวณที่มีหลุมร่องลึกเช่น ด้านบดเคี้ยว ผิวฟันบริเวณด้านประชิด และฟันที่ขึ้นซ้อนเก เป็นบริเวณที่ขจัดคราบจุลินทรีย์ได้ไม่ดี และมักมีเศษอาหารตกค้าง จึงเป็นบริเวณที่เกิดฟันผุได้ง่าย
ฟันที่ผิวฟันไม่แข็งแรง เนื่องจากการสะสมแร่ธาตุยังไม่สมบูรณ์ เช่น ฟันที่เพิ่งขึ้นมาในช่องปากใหม่ๆ หรือฟันที่มีความผิดปกติในการสร้างจะผุได้ง่าย ส่วนฟันที่ขึ้นมาในช่องปากระยะหนึ่ง มีการสะสมแร่ธาตุที่ผิวฟันสมบูรณ์ รวมทั้งได้รับฟลูออไรด์ ผิวฟันจะแข็งแรง มีความทนต่อการกัดกร่อนของกรดได้มากขึ้น
การเคลือบหลุมร่องลึกที่ผิวฟัน การทำให้ฟันสะอาด และการทำให้ผิวเคลือบฟันแข็งแรงทนต่อการกัดกร่อนของกรดด้วยการแปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ หรือการทาฟลูออไรด์วานิช เป็นวิธีการที่นำมาใช้ในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุ
2. จุลินทรีย์และอาหารที่ตกค้างในช่องปาก
จุลินทรีย์ที่พบในช่องปากมีหลายชนิด ชนิดที่พบว่าสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุ คือเชื้อ Mutans Streptococci และ Lactobacilli
การรับประทานแป้งและน้ำตาลบ่อยๆ (กินจุบจิบ) การปล่อยให้มีคราบจุลินทรีย์บนผิวฟัน และมีอาหารตกค้างในช่องปาก จะทำให้เชื้อจุลินทรีย์สร้างกรดได้ตลอดเวลา จึงมีการสูญเสียแร่ธาตุจากผิวฟันมากกว่าการคืนกลับ
การลดความถี่ในการบริโภคแป้งและน้ำตาล การขจัดเศษอาหารที่ตกค้างในช่องปาก และขจัดคราบจุลินทรีย์จากผิวฟัน เป็นการลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ และลดการสร้างกรดจึงเป็นการป้องกันการเกิดโรคฟันผุ
3. สภาพแวดล้อมในช่องปาก
น้ำลายมีคุณสมบัติในการเจือจาง และสะเทินความเป็นกรด (buffer) รวมทั้งยังเป็นแหล่งของแร่ธาตุที่จะคืนกลับสู่ผิวฟัน
คนที่ปากแห้งน้ำลายน้อยจะเกิดฟันผุได้ง่าย ในภาวะร่างกายขับน้ำลายออกมาน้อย เช่นขณะหลับ หากมีเศษอาหารตกค้างในช่องปาก กรดที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นจะไม่ถูกเจือจาง และคงอยู่ในช่องปากเป็นเวลานานขึ้น จึงเกิดฟันผุได้ง่าย น้ำลายน้อย ปากแห้ง หิวน้ำบ่อย เกิดอะไรขึ้นกับเรา?
ดังนั้นการแปรงฟันหลังอาหารมื้อเย็นหรือแปรงฟันก่อนเข้านอนจึงมีความสำคัญมากต่อการป้องกันการเกิดฟันผุ
4. แบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง
แม้นว่ากลไกทางชีวเคมีของการเกิดโรคฟันผุเป็นแบบเดียวกันในทุกช่วงวัย แต่เนื่องจากลักษณะสภาพช่องปาก ลักษณะของอาหาร และแบบแผนพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคฟันผุของบุคคลแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน
จึงทำให้ปัญหาฟันผุในแต่ละช่วงวัย มีลักษณะเฉพาะ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องเชิงพฤติกรรมทางสังคมแตกต่างกัน การส่งเสริมสุขภาพช่องปากและป้องกันโรคฟันผุในแต่ละช่วงวัย จึงต้องพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และวางแนวทางป้องกันแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสม
การป้องกันโรคฟันผุ
จากการวิเคราะห์องค์ประกอบและปัจจัยแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของ การเกิดโรคฟันผุข้างต้น จะเห็นได้ว่าการป้องกันโรคฟันผุทำได้หลายแนวทาง เช่น การทำให้ฟัน และ ผิวเคลือบฟันสมบูรณ์แข็งแรงยากต่อการกัดกร่อนของกรด
การลดปริมาณเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ในช่องปาก และผิวฟัน การลดโอกาสในการสร้างกรดของจุลินทรีย์ หรือการทำให้สภาพความเป็นกรดเกิดเพียง ช่วงสั้นๆ แล้วกลับคืนสู่ภาวะปกติ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาปากแห้งน้ำลายน้อยในบางคน
ซึ่งโดยรวมแล้วปัจจัยเหล่านี้เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมส่วนบุคคล 2 ประการคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และพฤติกรรมการดูแลรักษาอนามัยช่องปาก ดังนั้นแนวทางการป้องกันฟันผุที่สำคัญจึงต้องสร้างเสริมและพัฒนาพฤติกรรมทั้งสองประการนี้ (รายละเอียดอยู่ในเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพช่องปาก)
ส่วนเทคโนโลยีที่ใช้ป้องกันฟันผุ เช่น การใช้ฟลูออไรด์ และการเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นมาตรการเสริมเพื่อให้การป้องกันฟันผุในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ มีประสิทธิผลเพิ่มขึ้น ในอนาคตอาจมีเทคโนโลยีอื่นๆ ที่นำมาใช้ในการป้องกันฟันผุ เช่น นาโนเทคโนโลยี และเทคโนโลยีด้านพันธุวิศวกรรม
อย่างไรก็ตามในปัจจุบันการใช้ฟลูออไรด์ และการเคลือบหลุมร่องฟัน เป็นมาตรการเสริมเพื่อป้องกันฟันผุที่มีประสิทธิผล และได้รับการยอมรับให้มีการดำเนินการอย่างกว้างขวาง เคลือบฟัน เนื้อฟัน และเคลือบรากฟัน สำคัญอย่างไร ?
บทความที่เกี่ยวข้อง
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเรา
Phone : +662-102-5920
Fax : +662-102-5920
E-Mail : doctorvofficial@gmail.com
แผนที่(คลิกเพื่อดูรายละเอียด)
LINE:@DOCTORV
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/DoctorvOfficial
ติดตามช่อง Youtube
https://www.youtube.com/channel/UCT1GCI52CLf6BDfe77vtBtQ
สามารถสั่งซื้อได้ที่ >> Line: @doctorv
http://line.me/ti/p/%40doctorv
Scan QR CODE
ยาสีฟัน สมุนไพร Doctor V ได้ใส่สารสกัดจากสมุนไพรถึง 12 ชนิด เช่น เห็ดหลินจือ, โสม, Propolis เป็นต้น เป็นสารสกัดที่ขึ้นชื่อเรื่องคุณภาพ แต่ก็นำมาด้วยต้นทุนที่สูง แต่ด้วยความที่มีไอเดียในการทำสินค้า และธุรกิจของครอบครัวเป็นเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องสำอาง เลยมีทีม R&D ที่สามารถหาวัตถุดิบที่ต้องการมาได้หมด ทำให้ได้ ยาสีฟัน ตามสูตรที่คิดค้นโดยไม่ต้องกังวลเรื่องต้นทุนแต่อย่างใด Ldc กรุงเทพฯ ปริมณฑล / Ldc ต่างจังหวัด / ร้าน HEALTHY MAX 7 สาขา / ร้านออร์แกนิคปลอดสารพิษ / DENTAL CLINIC / สบายใจ / FOODLAND กทม. / FOODLAND ตจว. / VILLA MARKET กทม.ปริมณฑล / VILLA MARKET ตจว. / TOP MARKET / ร้านภูมิใจไทยมี 20 สาขา / Beauty Buffet / Market Place Online (Shopee / Lazada / JD Central / Fanpage : DoctorvOfficial) Doctor V™ ยาสีฟัน ฟันขาว สมุนไพร สูตรพิเศษ ทำให้ ฟันขาวขึ้น อีกทั้งยังช่วย ลดดกลิ่นปาก, บำรุงเหงือก, ปกป้อง เหงือกบวม อักเสบ, ลด เสียว ฟัน โดยทีมงานแพทย์แผนปัจจุบัน ที่ตระหนักถึงคุณค่าของ สมุนไพรไทย และธรรมชาติ เพื่อให้มั่นใจถึงความบริสุทธิ์ และคุณภาพ Doctor V™เลือกใช้เฉพาะส่วนผสมจากธรรมชาติบริสุทธิ์ 100 % จากพืชเพื่อให้ทุกเพศทุกวัยสามารถได้รับประโยชน์ ของผลิตภัณฑ์พรีเมี่ยมจากธรรมชาตินี้